บ่อเกลือโบราณ น่าน

บ่อเกลือ
ตั้งอยู่ใน อ. บ่อเกลือ อยู่ห่างจากตัวเมืองน่าน ประมาณ 80 กิโลเมตร มีชื่อเสียงในด้านการทำเกลือบนภูเขาที่ไม่มีที่ใดเหมือน เกลือสินเธาว์เพื่อบริโภคและจำหน่ายเป็นรายได้อีกทางหนึ่ง บ่อเกลือนี้มีมาแต่โบราณและนำไปจำหน่ายยังกรุงสุโขทัย เชียงใหม่ เชียงตุง หลวงพระบาง รวมถึงสิบสองปันนาจีนตอนใต้เมื่อก่อนนี้จะมีบ่อเกลือหลายบ่อ แต่เดี๋ยวนี้ได้แห้งไปหมด เหลืออยู่เพียงสองบ่อเท่านั้น ซึ่งตั้งตั้งอยู่ที่บ้านบ่อหลวงในพื้นที่เริ่ม ต้นของที่ราบแคบๆ ระหว่างเทือกเขาริมน้ำมาง ซึ่งในบริเวณนี้จะเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านต่าง ๆอีก 8 หมู่บ้าน บ้านบ่อหลวงมีบ่อเกลือสาธารณะอยู่ 2 บ่อ ชาวบ้านจะเรียกว่า บ่อเหนือและบ่อใต้ บ่อเหนืออยู่ริมแม่น้ำบางส่วน บ่อใต้ห่างออก ไปราว 500 เมตรติดเชิงเขาท้ายหมู่บ้าน ทั้งสองบ่อกรุขอบด้วยคอกไม้กันดินปากหลุมถล่มและ มีนั่งร้านสำหรับยืนตักน้ำเกลืออยู่ข้าง ๆ บ่อเกลือ ทั้งสองบ่อมีน้ำเกลือซึ่งมีความเข้มข้นสูงกว่าบ่ออื่นๆ เคยมีชาวบ้านพยายามจะขุดหาบ่อเกลือเพิ่มอีกแต่ก็ไม่สามารถพบบ่อเกลือ อีกเลย

การจะนำเกลือจากบ่อขึ้นมาต้มทำเกลือใช่ว่าจะกระทำกันได้ง่าย ๆ ชาวบ้านจะต้องทำพิธีเลี้ยงผีเมืองและเจ้ารักษาบ่อเกลือคือ เจ้าซางคำ กันก่อน โดยจะทำทุกปีในวันแรม 8 ค่ำเดือน 5 หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า "งานแก้ม" ในสมัยก่อนเคยทำกันถึง 7 วัน แต่ปัจจุบันลดลงมา เหลือเพียง 3 วันเท่านั้นในอดีตชาวบ้าน อำเภอบ่อเกลือจะ ทำ เกลือขึ้นเพื่อใช้ในครัวเรือน แต่เมื่อปัจจุบันถนนหนทาง สะดวกมากขึ้น การเดินทางเข้าเมือง ก็ง่าย ชาวบ้านจึงได้ นำเกลือจากที่นี่ออกไป จำหน่ายยังหมู่บ้านต่าง ๆ รวมถึงต่างอำเภอก็มีปัจจุบันอำเภอบ่อเกลือ สวยงาม ด้วยภูมิ ประเทศป่าเขาเขียวขจี ควันหลงของสงครามจางหายไปและพื้นที่นี้กำลังได้ รับการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ของจังหวัดน่านที่รอคอยนักเดินทางเข้ามาสัมผัสกลิ่น ไอของธรรมชาตและตำนานการทำเกลือบนที่สูง

การค้นพบบ่อเกลือ
สำหรับการค้นพบบ่อเกลือ ที่บ้านบอหลวงมีการเล่าสืบต่อๆกันมา ดังนี้ มีนายพรานผู้หนึ่งมาล่าสัตว์และเห็นเหล่าสัตว์ทั้งหลายมักจะมากินน้ำ ที่นี้เป็นประจำ เมื่อลองชิมดูถึงรู้ว่ามีรสเค็ม ข่าวได้ล่วงรู้ถึงเจ้าหลวงภูคาและเจ้าหลวงบ่อจึงมาดูน้ำเค็ม โดยทั้งสองพระองค์ขึ้น ไปบน ยอดดอยภูจั่นเพื่อแข่งขันกันพุ่งสะเดา(หอก)เจ้าหลวงภูคา พุ่งออกไปทางทิศตะวันตกของลำน้ำตรงที่ตั้งหอนอกในปัจจุบันผู้คนที่ ชมการพุ่งหอกได้นำเอาหินมาก่อ เป็นที่สังเกตุแล้วตั้งเป็นโรงหอทำพิธีที่ระลึกตอบแทนบุญคุณเจ้าพ่อทั้งสองทุกปี ภายหลังทั้งสองพระองค์ คิดกันว่าจะนำคนที่ไหนมาอยู่เมื่อปรึกษากันแล้วจึงไปนำคนที่อยู่เชียงแสนซึ่งเป็นบรรพบุรุษของชาวบ่อหลวง ในปัจจุบันมาหักล้างถางป่า ทำนาเกลืออยู่ที่นี้ ดังนั้นชุมชนบริเวณนี้จึงเกิดขึ้นและอาศัยกันมาจนถึงปัจจุบัน